แอ่งเล็ก เช็คอิน พาเที่ยว 5 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
เส้นทาง จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดลพบุรี
ซึ่งเส้นทางที่เราเดินทางไปท่องเที่ยวแต่ละชุมชน จะเรียงลำดับใกล้กัน ถ้าหากใครสนใจเดินทางไปสัมผัสบรรยากาศชุมชน หรือหาข้อมูล สามารถใช้เส้นทางที่เราเขียนและเรียงลำดับไว้ได้เลย โดยที่แต่ละอำเภอจะอยู่ไม่ไกลกัน สามารถเดินทางได้สะดวกสบาย
1. ชุมชนปะขาว อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
2. ชุมชนพิกุลทองสามัคคี อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
3. ชุมชนลาวเวียงเนินขาม บ้านหนองระกำ อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท
4. ชุมชนร่วมใจสามัคคี อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี
5. ชุมชนโคกสำโรงใหญ่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีและเรามาดูกันว่าแต่ละชุมชน มีอะไรกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชุมชน แหล่งท่องเที่ยว สินค้า OTOP หรือ อาหารประจำถิ่น เราได้เก็บภาพบรรยากาศมาให้เพื่อนๆที่ติดตามได้รับชม
1. ชุมชนปะขาว ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
เดิมทีหมู่บ้านปะขาวเป็นหมู่บ้านที่ลาบลุ่ม น้ำจะท่วมทุกปี เพราะหน้าน้ำจะมีน้ำมาก ชาวบ้านจะมีอาชีพทำก้านทูป ในช่วงฤดูน้ำท่วม ซึ่งทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สืบเนื่องต่อมา และชาวบ้านจะประกอบอาชีพเกษตรกร 90%
แพพักตกปลา 8 หลัง พักค้างคืน ตกปลาแม่น้ำ พักผ่อนบรรยากาศริมน้ำ ซึ่งสามารถตกปลา ตกกุ้ง และปรุงอาหารทานกันสดๆบนแพได้เลย
การทำสิ่งประดิษ ศาลพระภูมิบ้านทรงไทยจำรอง ด้วยเศษไม้สัก ซึ่งความโดดเด่นของบ้านทรงไทยที่นี่คือ เน้นความละเอียดและสมจริง ชิ้นส่วนแต่ละะชิ้นจะเหมือนกับบ้านทรงไทยที่ย่อส่วนลงมา โดยปกติจะมีลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสั่งโดยตรง
ชุมชนแห่งนี้ยังขึ้นชื่อเรื่องก้านธูปจากไม้ไผ่สีสุก ซึ่งป็นอาชีพดั้งเดิมของชุมชน โดยจะเป็นอาชีพที่ผู้สูงอายุ
ศูนย์การเรียนรู้เกษตรกร และปราชญ์ชาวบ้าน เช่น แปลงปลูกอ้อย คั้นน้ำ ที่นี่มีอ้อยที่ปลูกไว้คั้นน้ำขายโดยเฉพาะ รสชาติหวานอร่อย ที่น้ำอ้อยหวานชุ่มคอ ให้ผลผลิตน้ำอ้อยมาก และยังเหมาะแก่การนำไปคั้นทำน้ำอ้อยขาย รวมทั้งนำไปปอกขายอ้อยควั่นแช่เย็น วางขายเสริมสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น ศูนย์ตุ๊กตาชาววัง, วัดท่าสุทธาวาส, วัดสระแก้ว, บ้านเรือนไทย, บ้านกล้วยหอม
ขนมกระยาสารท ขึ้นชื่อ มีรสชาติเหนียวนุ่ม หอมหวานมัน การทำตามแบบโบราณ มีรสชาติอร่อยเหนียวนุ่ม หอมหวานมัน ทำสดใหม่ทุกวัน
2. ชุมชนพิกุลทองสามัคคี ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
เอกลักษณ์ของหมู่บ้านพิกุลทองสามัคคีที่สำคัญ คือ วิถีชีวิตตลอดริมฝั่งแม่น้ำน้อย ที่นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ตลอด
วัดพิกุลทอง เดิมชื่อว่า วัดใหม่ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดหลวงพ่อแพ เป็นวัดที่ได้รับความศรัทธาและเลื่อมใสจากชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจาก หลวงพ่อแพ อดีตเจ้าอาวาส ได้ทำคุณประโยชน์แก่พุทธศาสนาไว้มากมาย และมีส่วนช่วยพัฒนาให้วัดพิกุลทองกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งที่มีความสวยงาม วัดพิกุลทองมีความร่มรื่นและความสวยงามด้านศิลปกรรม โดยเฉพาะพระวิหารใหญ่ ซึ่งเป็นพระวิหารที่เหล่าลูกศิษย์ ร่วมกันสร้างถวายให้แก่หลวงพ่อแพ หลังจากท่านได้มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.2542 ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่างๆ พระสังกัจจายองค์ใหญ่ และพระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว นอกจากนี้ยังมีรูปหล่อเหมือนหลวงพ่อแพองค์ใหญ่ พร้อมจัดแสดงรูปภาพขนาดใหญ่ของหลวงพ่อตั้งแต่สมัยท่านอุปสมบทเป็นสามเณรจนถึงวัยชราภาพประดับไว้ตามฝาผนังของพระวิหารซึ่งแต่ละภาพถือว่าเป็นภาพที่หาดูได้ยาก
การเลี้ยงปลาทับทิมกระชัง แม่น้ำน้อย ที่สามารถดูแลได้ง่าย เป็นที่ต้องการของตลาด
ชมการทำกระยาสารทสูตรโบราณ กระยาสารทแม่สมภิต หวาน หอม กรอบ สะอาด สดใหม่ทุกวัน
การท่องเที่ยวหมู่บ้านพิกุลทองสามัคคีสามารถท่องเที่ยวได้ทั้งแบบพักค้างคืนที่โฮมสเตย์และ One Day Trip ซึ่งรองรับนักท่องเที่ยวได้ตลอด
นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆใกล้เคียง เช่น วัดโพธิ์เก้าต้น อุทธยานวีรชนค่ายบางระจัน ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน และวัดพระนอนจักรสีห์
“ข้าวหมากโบราณ” ขนมสำรับไทยจากการคลุกเคล้าข้าวเหนียวเข้ากับแป้งข้าวหมากที่หารับประทานได้ยากมากในยุคปัจจุบัน
ทานอาหารและรับชมการแสดงพื้นบ้าน เช่น รำโทน รำกลองยาว ร้องเพลงเรือ
สูตรอาหารของหมู่บ้านพิกุลทองสามัคคีมักจะเป็นภูมิปัญญาที่เป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นปู่ย่าตายาย จึงเลือกนำส่วนนี้มาเป็นจุดเด่นของหมู่บ้าน ซึ่งนอกจากอาหารแล้ว ทางหมู่บ้านยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติด้วยการใช้ภาชนะต่างๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ อาทิ จานเข่งจากใบลาน ตะกร้าหวายจักสาน กระบอกน้ำจากไม้ไผ่ และหลอดดูดน้ำจากก้านบัว ซึ่งแน่นอนว่าหากมาเที่ยวที่หมู่บ้านพิกุลทองสามัคคีท่านจะได้สัมผัสกับธรรมชาติ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ตลอดจนการต้อนรับอย่างเป็นมิตรเสมือนคนในครอบครัว
3. ชุมชนลาวเวียงเนินขาม บ้านหนองระกำ ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท
บ้านหนองระกำ เดิมที่นี่คือเป็นที่ลุ่ม มีสภาพเป็นหนองน้ำและมีต้นระกำขึ้นอยู่รอบๆ หลังจากมีชาวบ้านย้ายเข้ามาอยู่อาศัย จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า หนองระกำ ชาวบ้านหนองระกำใช้ชีวิตกันอย่างเรียบง่าย เป็นชุมชนเล็กๆ ตามวิถีชีวิตลาวเวียง ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำนา ปลูกพืชผัก และมีงานหัตถกรรมพื้นบ้านหลายชนิด และสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่น งานทอผ้า จักสาร เป็นต้น
ที่นี่มีมุมถ่ายภาพ สำหรับคนที่มาเยี่ยมชม หลายมุมเลยทีเดียว บรรยากาศกลางทุ่งนา เขียวๆสบายๆ
สินค้า ผ้าทอพื้นเมืองลาวเวียง ข้าวปลอดสารพิษ หัตถกกรมจากไม้ไผ่หลายแบบ สวนผักปลอดสารพิษ และอาหารพื้นเมืองของชาวลาวเวียง เช่น แกงเปรอะหน่อไม้ ห่อหมกปลาช่อน แกงป่าไก่บ้านผักก้านตรง ข้าวสามสี ข้าวต้มมัด ปลาร้าหลนใส่หมู ทอดมันปลาเห็ด
การแสดง และแต่งกายชุดพื้นเมืองแบบลาวเวียง
มุมสาธิตโรงเรียนชาวนาให้ได้ศึกษาข้อมูล รวมไปถึงวิธีการทอผ้า การทอเป็นผ้าซิ่น ผ้าสไบ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ รวมทั้งยังมีการทอผ้าเป็นผ้าขาวม้า หรือนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อ ทำเป็นหมอนขิด หมอนขวาง กระเป๋า ฯลฯ
วัดเนินขาม ศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน และนั่งท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเยี่ยมชม กราบไหว้ บูชา ขอพร พระพุทธมาลี พระคู่บ้านคู่เมืองของชุมชน
สถานที่ท่องที่ยวอื่นๆ เช่น ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมการทอผ้าพื้นเมือง โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่, นวดเพื่อสุขภาพ, กลุ่มทอผ้า, บ้านพักโฮมสเตย์
4. ชุมชนร่วมใจสามัคคี ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกเริญ จังหวัดลพบุรี
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม รองลงมาเป็นการเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน เช่น การทอผ้า และตัดเย็บเสื้อผ้ากลุ่มสตรีแม่บ้าน
บายศรีสู่ขวัญ มีหมอสู่ขวัญประจำหมู่บ้านตามประเภณี ทำพิธีให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือน หรือชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
ตลาดโคกเจริญ จำหน่ายสินค้าของชุมชน สามารถซื้อสินค้าผ้าทอมัดหมี่ หรือสินค้าจากผลผลิตทางการเกษตร และของกินได้ที่นี่เลย
วัดโคกเจริญ กราบไหว้หลวงปู่บุญเหลือ ศูนย์รวมใจ
ปู่จิ้น ย่าปรุง บุคคลสำคัญของตำบลโคกเจริญ ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นมา ที่ล่วงลับจากลาไปแล้ว
ผ้ามัดหมี่ แต่เดิมมีผู้ที่มีภูมิปัญญาทอผ้าอยู่หลายคนซึ่งคนเหล่านี้ จะทอผ้าไว้ใช้เอง ต่อมามีสมาชิกในหมู่บ้านสนใจทอผ้ามากขึ้น กระบวนการมัดย้อมและการทอแบบผ้าไทยทอมือจากภูมิปัญญาไทย ลักษณะลายเป็นลายสากล ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ตัดชุดสุภาพบุรุษ ตัดชุดสุภาพสตรี ทำเครื่องตกแต่ง เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ โดยสามารถเปลี่ยนสีสันให้เหมาะกับงาน
ศึกษาขั้นตอนวิธีการทอผ้า เช่น การค้นเครือ การสอดฟันฟืม การม้วนโมเล่ห์ การเก็บตะกอ การค้นหัวหมี่ การปั่นหมี่ การมัดหมี่ และการทอผ้า
ผลิตภัณฑ์แปลรูปจากผ้า หลากหลายชนิดและรูปแบบให้ได้เลือกซื้อกัน
การแสดงพื้นบ้าน เซิ้งต้อนรับและบาสโลป แสดงโดยคนในชุมชน ให้กับนักท่องเที่ยวได้รับชม
ประเภณีงานบุญบังไฟโคกเจริญ งานบุญเดือน6 ขอฝนขอความชุ่มชื้นให้กับเกษตรกร ที่จัดขึ้นทุกปี เป็นงานใหญ่และมีที่เดียวที่จัดในจังหวัดลพบุรี ไม่ต้องไปถึงจังหวัดภาคอีสาน
มีการจัดขบวนแห่บังไฟโดยการเอาผ้าทอมาจัดตกแต่งขบวนรถแห่
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น
ศูนย์การเรียนรู้หมอดินอาสา เรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร
สะพานไม้ไผ่ทุ่งนาหลังบ้านอาจารย์วินัย
5. ชุมชนโคกสำโรงใหญ่ ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ ลพบุรี
ชาวพวน หรือ ไทพวน ที่อพยพมาจากเชียงขวางในประเทศลาวมาตั้งภูมิลำเนาในท้องที่อำเภอนี้ได้นำเอาชื่อบ้าน คือ “บ้านหมี่” หรือ “เซ่า” ติดมาด้วย แล้วนำเอาชื่อบ้านมาตั้งหลักแหล่ง คำว่า เซ่า หรือ เซา เป็นภาษาพวนเดิม หมายถึง หยุดหรือพัก ส่วนคำว่า หมี่ นั้นหมายถึง การมัดเส้นไหมเป็นเปลาะ เพื่อให้มีหลากสีสัน เนื่องจากราษฎรในละแวกนั้นมีความถนัดในการทอผ้าชนิดต่าง ๆ เมื่อมาตั้งหลักแหล่งจึงตั้งชื่อบ้านเป็นเครื่องหมายในการประกอบอาชีพว่า “บ้านหมี่”
ชาวบ้านสำโรงใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ไทพวน พูดภาษาพวน ใช้ชีวิตเรียบง่าย
พิพิธภัณพ์ลายผ้า ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านพวน จัดแสดงวิถีชีวิต การเล่าเรื่อง การแต่กายของชาวลาวพวน จัดแสดง ผ้าทอ และภาพแบบผ้าทอ แต่ละลายที่สร้างสรรค์ขึ้นจากชุมชน
จัดแสดง เครื่องมือจับปลา ล่าสัตว์ แห แน่ง น่าง จำยอ ตุ้ม แห่ว ไซร สุ่ม ข่อง หิง
และมีสินค้าและผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมัดหมี่หลายแบบให้ชมและเลือกซื้อ
การยกยอ ดักปลา นำมาประกอบอาหาร แบบวิถีชีวิตลาวพวน
และอีกประเพณีที่ชาวไทพวนปฏิบัติสืบต่อกันมาคือ งานบุญกำฟ้า เป็นประเพณีของชาวไทยพวนในจังหวัดต่าง ที่มีชาวพวนอาศัยอยู่ได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ “กำ” ในภาษาไทยพวน หมายถึง การนับถือและสักการะบูชา ดังนั้น กำฟ้า จึงหมายถึงประเพณีนับถือ สักการะบูชาฟ้า เนื่องจากชาวพวนเป็นกลุ่มชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา ในสมัยดั้งเดิมการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ชาวนา ในสมัยนั้นจึงมีการเกรงกลัวฟ้ามาก ไม่กล้าที่จะทำอะไรให้ฟ้าพิโรธ ถ้าฟ้าพิโรธย่อมหมายถึง ความแห้งแล้ง อดยาก หรือฟ้าอาจผ่าคนตาย ประชาชนกลัวจะได้รับความทุกข์ยากอันเป็นภัยจากฟ้า จึงมีการเซ่นสรวง สักการะบูชาผีฟ้า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาใจ มิให้ฟ้าพิโรธ หรืออีกนัยหนึ่ง ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมนั้น รู้สึกสำนึกในบุญคุณของผีฟ้าที่ได้ให้น้ำฝน อันหมายถึงความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ มีชีวิตของคน สัตว์ และพืชพรรณต่างๆ จึงได้เกิดประเพณีกำฟ้าขึ้น เพื่อเป็นการประจบผีฟ้าไม่ให้พิโรธ และเป็นการแสดงความขอบคุณต่อเทพยาดาแห่งท้องฟ้าหรือผีฟ้า
ผ้าทอมัดหมี่เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และอารยธรรมของคนในท้องถิ่นตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันจากบรรพบุรุษชาวไทยพวน ที่อพยพจากแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาตั้งรกรากในประเทศไทย ที่นำเอาภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สืบทอดกันมา ชาวบ้านยังใช้ผ้าทอมัดหมี่สำหรับการนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ซึ่งการทอผ้ามัดหมี่แสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นของชาวไทยพวนบ้านหมี่ ลวดลายและสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้า สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตของชาวบ้าน วัฒนธรรมการแต่งกาย และคตินิยม จึงเป็นเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรม รสนิยม และความเป็นตัวแทนของท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นตน
อาหารพื้นถิ่น
ข้าวจี่ มักทำเพื่อใช้ในงานเทศกาลบุญทานข้าวจี่วิถีไทยพวน
ขนมดาดกระทะ ขนมโบราณของชาวไทยผวน ใช้ส่วนผสมของ แป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาล มะพร้าวอ่อน ผสมกัน แล้วหยอดใส่กระทะ กลับไปมา จนสุก
แกงจานน้ำเส่อ หรือ แกงหน่อไม้น้ำใสปลาช่อนและไข่ปลาช่อน อาหารชาวพวน
สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนอื่นๆ
สระโพธิ์ เกษตรพอเพียง สำหรับปลูกพืชพันธุ์การเกษตรของชาวบ้าน
กราบไหว้หลวงพ่อใหญ่สุวรรณโน วัดสำโรงใหญ่ ที่คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวนิยม มากราบไหว้ขอพร
วัดหินปักใหญ่ เยี่ยมชมภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดหินปักใหญ่ สมัยรัชกาลที่ 6
ที่พักโฮมสเตย์ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้จำนวนหลายท่าน